ก้อนเมฆสีขาวๆ ที่เรามองเห็น คือ ไอน้ำที่กลั่นตัวรวมกันเป็นกลุ่มก้อน หากใครที่เคยสังเกตเมื่อขึ้นเครื่องบินและมองเมฆจะเห็นว่า เมื่อดูใกล้ๆ จะไม่เป็นก้อนแต่จะเป็นเหมือนควันลอยอยู่ ซึ่งเมฆอาจจะมีสภาพเป็นอนุภาคเล็ก ใหญ่ ของน้ำ น้ำแข็ง หรือไม่มีน้ำ หรืออาจจะรวมปนกันและลอยอยู่ในอากาศ ซึ่งเมื่ออากาศร้อนจะทำให้ไอน้ำระเหยจากพื้นดินลอยขึ้นไปบนท้องฟ้ามาก จากนั้นอากาศเย็นที่อยู่บนท้องฟ้าก็จะจับอากาศร้อนที่ลอยขึ้นไปเมื่อมากขึ้นก็จะกลายเป็นก้อนเมฆในที่สุด

หากใครที่ชื่นชอบการมองท้องฟ้า ถ่ายรูปท้องฟ้าจะเห็นว่า แต่ละวันเมฆจะไม่เหมือนกัน บางวันสวยสว่างสดใสเป็นรูปต่างๆตามจินตนาการ บางวันครึ้มดำทะมึนน่ากลัว  และเมฆมีหลายชนิดสามารถแบ่งเป็นชั้นได้ ดังนี้

เมฆชั้นสูง : ฐานเมฆอยู่ในระดับสูงกว่า 6 กิโลเมตร อุณหภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็งจึงประกอบด้วยผนึกน้ำแข็งเกือบทั้งหมด

เมฆชั้นกลาง : ฐานเมฆอยู่ระดับสูง 2- 6 กิโลเมตร ประกอบด้วยผลึกน้ำแข็งและละอองน้ำ

เมฆชั้นต่ำ : ฐานเมฆอยู่ในระดับความสูงต่ำกว่า 2 กิโลเมตร ประกอบด้วยละอองน้ำเกือบทั้งหมด

โดยเมฆจะมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันหลากหลายชื่อ เช่น  เมฆคิวมูลัส (Cumulus) เมฆอากาศดี มีลักษณะเป็นก้อนสีขาว รูปกะหล่ำ ฐานเมฆสีเทาหนา และบังแสงเมฆนิมโบสเตรตัส (Nimbostratus) หรือเมฆฝนจะมีลักษณะเป็นแผ่นหนาสีเทาดำทำให้ฝนตกต่อเนื่องแต่ไม่มีฟ้าแลบและฟ้าร้อง  และ เมฆคิวมูโลนิมบัส (Cumulonimbus) เมฆฟ้าคะนอง มีลักษณะเป็นเมฆก้อนใหญ่ คล้ายภูเขา ยอดเมฆแผ่ออกคล้ายทั่ง ฐานเมฆต่ำสีดำหนา มืดทึบ และมีฝนตกมีฟ้าแลบฟ้าร้อง เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีอีกหลายประเภท หลยรูปแบบที่แตกต่างกันไป

ส่วนการเกิดฝน เกิดจากละอองน้ำขนาดเล็กในเมฆเกิดการรวมตัวกันจนมีขนาดใหญ่จนอากาศไม่สามารถพยุงไว้ได้จึงตกลงมาเป็นหยดน้ำ หรือเม็ดน้ำ ซึ่งฝนจะตกลงมายังพื้นดินได้นั้นจะต้องมีเมฆเกิดในท้องฟ้าก่อน เมฆมีอยู่หลายชนิด มีเมฆบางชนิดเท่านั้นที่ทำให้มีฝนตก เราทราบแล้วว่าไอน้ำจะกลั่นตัวเป็นเมฆก็ต่อเมื่อมีอนุภาคกลั่นตัวเล็กๆ อยู่เป็นจำนวนมากเพียงพอและไอน้ำจะเกาะตัวบนอนุภาคเหล่านี้รวมกันทำให้เกิดเป็นเมฆ เมฆจะกลั่นตัวเป็นน้ำฝนได้ก็ต้องมีอนุภาคแข็งตัว(Freezing nuclei) หรือเม็ดน้ำขนาดใหญ่ซึ่งจะดึงเม็ดน้ำขนาดเล็กมารวมตัว กันจนเป็นเม็ดฝน สภาวะของน้ำที่ตกลงมาจากท้องฟ้า อาจเป็นลักษณะของฝน ฝนละออง หิมะหรือลูกเห็บ ซึ่งเรารวมเรียกว่าหยาดน้ำฟ้า (Precipitation) ซึ่งจะตกลงมาในลักษณะไหน ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของอากาศในพื้นที่นั้นๆ  เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้แล้ว พอจะนึกภาพเชื่อมโยงถูกหรือไม่ ระหว่างเมฆและฝนมีความสัมพันธ์กันอย่างไร เมื่อเรากำหนดธรรมชาติไม่ได้แต่เราสามารถเรียนรู้ ทำความเข้าใจกับธรรมชาติและเตรียมรับมือกับสถานการณ์ต่างๆได้

ปั๊มบ้านบอกต่อ! กับเกร็ดความรู้เรื่องปั๊มน้ำ และสารพัดวิธีแก้ปัญหาจุกจิกภายในบ้าน เรามีคำตอบให้คุณได้ทุกวัน
น้องปั๊มบ้านมีบริการซ่อม ติดตั้ง และจำหน่ายปั๊มน้ำ
– ช่างเข้าหน้างานภายใน 1-3 ชม.
– รับประกัน(งานซ่อม 15 วัน) (งานติดตั้ง 90 วัน)
– ทั่วกรุงเทพปริมณฑล และทั่วประเทศ(บางพื้นที่)
เพื่อให้ลูกค้าได้แก้ปัญหาได้อย่างตรงจุดทันท่วงทีและไม่ต้องเสียเวลาลองผิดลองถูกกันอีกด้วยครับ
แจ้งปัญหาหรือปรึกษาฟรีเกี่ยวกับปั๊มน้ำ
โทร 095-768-8937 หรือ Add line id : @pumpban
ในเวลาทำการ จ-เสาร์ 8.30-17.30น. ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์หยุดนักขัตฤกษ์