วิธีขจัดคราบเหลืองบนหมอน
สาเหตุของการเกิดคราบเหลืองบนหมอน
- การขับเหงื่อหรือน้ำมันจากร่างกาย ขณะนอนหลับพักผ่อน
- การผลัดเซลล์ผิวที่ตายแล้ว
- คราบน้ำลาย ขณะนอนหลับพักผ่อน
- คราบแป้ง คราบครีมบำรุง หรือคราบจากแผ่นมาส์กหน้า
คราบเหลือง เป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา และไรฝุ่น ซึ่งก่อให้เกิดสิว ผื่นคัน โรคภูมิแพ้ หรือโรคหอบหืด
วิธีป้องกันการเกิดคราบเหลืองหรือสิ่งสะสมความสกปรกบนหมอน
- ไม่ควรนอนบนที่นอน หากยังไม่ไม่ได้อาบน้ำ ล้างหน้า ให้สะอาดก่อน
- ควรล้างหน้าทำความสะอาดให้สะอาดก่อนเข้านอนทุกครั้ง
- ไม่ควรทาครีมบำรุงต่าง ๆ บนที่นอน และควรรอให้ครีมบำรุงต่าง ๆ ซึมลงผิวก่อนเข้านอน
- ควรเช็ดผมให้แห้งสนิทก่อนเข้านอนทุกครั้ง
- ควรเลือกใช้ปลอกสำหรับซับในกันคราบเหลืองบนหมอน
5 วิธีขจัดคราบเหลืองบนหมอน
- นำหมอนแช่ลงในถังซักด้วยน้ำร้อน ผสมด้วยผงซักฟอก น้ำยาล้างจาน และผงบอแร็กซ์ ในอัตราส่วน 1 : 1 : ½ ส่วน แช่ทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที หลังจากนั้นให้กดเครื่องซักผ้า เพื่อซักตามปกติ และให้นำลูกเทนนิส 2 ลูก ลงในถังซัก เพื่อปั่นแห้งและอบแห้ง ลูกเทนนิสช่วยไม่ให้หมอนเสียรูปทรงจากการซักด้วยเครื่องซักผ้า และยังช่วยคงความนุ่มของหมอนอีกด้วย
- นำหมอนจำนวน 2 ใบ แช่ลงในถังซักด้วยน้ำ ผสมด้วยสบู่ซักฟอกที่ขูดฝอยแล้ว สารฟอกขาว และเบกกิ้งโซดา ในอัตราส่วน 1 : ½ : ½ แช่ทิ้งไว้ประมาณ 20 นาทีด้วยน้ำร้อน และใส่ลูกเทนนิส และหยอดน้ำมันหอมระเหยประมาณ 3 – 5 หยด หลังจากนั้นให้กดเครื่องซักผ้า เพื่อซักตามปกติ ปั่นแห้ง และอบแห้ง
- นำหมอนลงในถังซัก ผสมด้วยน้ำยาล้างจาน โซดาซักผ้า น้ำส้มสายชู ผงซักฟอก และน้ำร้อนในอัตราส่วน 1 : ¾ : ½ : 3 : 3 หลังจากนั้นให้กดเครื่องซักผ้า เพื่อซักตามปกติ ปั่นแห้ง และอบแห้ง
- นำหมอนแช่ลงในถังซักด้วยน้ำร้อน ผสมด้วยไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (Hydrogen Peroxide) และน้ำส้มสายชู ในอัตรส่วน 1 : ½ แช่ทิ้งไว้สักครู่ หลังจากนั้นให้กดเครื่องซักผ้า เพื่อซักตามปกติ ด้วยเบกกิ้งโซดา น้ำส้มสายชู ในอัตราส่วนสำหรับเครื่องซักผ้าฝาหน้า ¼ : ½ ในอัตราส่วนสำหรับเครื่องซักผ้าฝาบน ½ : ½ และหยอดน้ำมันหอมระเหยประมาณ 2 – 3 หยด ปั่นแห้ง และอบแห้ง
- สำหรับเครื่องซักผ้าฝาหน้า นำหมอนจำนวน 2 ใบ แช่ลงในถังซักด้วยน้ำร้อน ผสมด้วยโซดาซักผ้า ผงน้ำยาล้างจาน และผงบอแร็กซ์ ในอัตราส่วน 1 : 1 : ½ หลังจากนั้นผสมให้เข้ากัน ใส่ส่วนผสมลงถังซักประมาณ ¼ และสารฟอกขาว ¼ หลังจากนั้นให้กดเครื่องซักผ้า เพื่อซักตามปกติ และให้นำลูกเทนนิส 2 ลูก ลงในถังซัก เพื่อปั่นแห้ง และอบแห้ง ลูกเทนนิสช่วยไม่ให้หมอนเสียรูปทรงจากการซักด้วยเครื่องซักผ้า และยังช่วยคงความนุ่มของหมอนอีกด้วย
วิธีการซักหมอน
- ควรซักหมอนตามคำแนะนำของป้ายด้านข้าง เนื่องด้วยหมอนใช้วัสดุหรือผ้าต่างชนิดกัน เช่น ใยสังเคราะห์ นุ่น ขนสัตว์ ธัญพืช ยางพารา เมมโมรีโฟม ดังนั้น ควรทำความเข้าใจและซักทำความสะอาดตามคำแนะนำให้ถูกต้อง
- ควรเปลี่ยนหมอนใบใหม่ หลังผ่านการใช้งานแล้วอย่างน้อย 2 ปี หรือสามารถลองพับหมอนใบเดิมก่อนตัดสินใจเปลี่ยนใบใหม่ หากลองพับแล้วหมอนไม่เด้งกลับ ควรเปลี่ยนหมอนใบใหม่
- สำหรับหมอนที่ทำด้วยขนสัตว์หรือใยสังเคราะห์ สามารถซักด้วยมือหรือซักด้วยเครื่องซักผ้า โดยใช้ผงซักฟอกทั่วไปได้ หากต้องการเพิ่มประสิทธิภาพให้ซักหมอนได้สะอาดมากยิ่งขึ้น สามารถผสมน้ำยาล้างจาน และผงบอแร็กซ์ ในอัตราส่วน 1 : ½ แช่ทิ้งไว้ประมาณ 15 นาที หลังจากนั้นให้กดเครื่องซักผ้า เพื่อซักตามปกติ ปั่นแห้ง และอบแห้ง
- สำหรับหมอนที่ทำด้วยเมมโมรีโฟมหรือยางพาราหรือวัสดุที่มีความอ่อนโยน ควรซักทำความสะอาดด้วยมือ โดยใช้ผงซักฟอกหรือน้ำยาซักผ้าโดยเฉพาะ และไม่ควรนำเข้าเครื่องอบผ้า
- ก่อนนำหมอนสวมปลอกหมอน ควรตากหมอนให้แห้งสนิท
- ควรเลือกใช้อุณหภูมิในการซักทำความสะอาดหมอนตามคำแนะนำของป้ายด้านข้าง หรืออุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียสขึ้นไป เพื่อช่วยขจัดเชื้อโรค ไรฝุ่น เชื้อรา และคราบเหลือง หากซักร่วมกับน้ำส้มสายชูหรือสารฟอกขาวแล้ว ไม่จำเป็นต้องใช้อุณหภูมิสูงถึง 60 องศาเซลเซียส เนื่องด้วยน้ำส้มสายชูและสารฟอกขาว มีส่วนช่วยในการขจัดเชื้อโรค ไรฝุ่น เชื้อรา และคราบเหลือง
- สำหรับการขจัดเชื้อราบนหมอน นำหมอนแช่น้ำร้อน ผสมด้วยไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (Hydrogen Peroxide) และน้ำส้มสายชู ในอัตราส่วน 1 : ½ แช่ทิ้งไว้สักครู่ และเติมเบกกิ้งโซดาลงไปเล็กน้อย หลังจากนั้นให้กดเครื่องซักผ้า เพื่อซักตามปกติ และนำไปตากให้แห้งสนิท
วิธีการซักปลอกหมอนและผ้าปูที่นอน
- ควรซักปลอกหมอนและผ้าปูที่นอนตามคำแนะนำของป้ายด้านข้าง เนื่องด้วยปลอกหมอนและผ้าปูที่นอนใช้วัสดุหรือผ้าต่างชนิดกัน ดังนั้น ควรทำความเข้าใจและซักทำความสะอาดตามคำแนะนำให้ถูกต้อง
- สามารถซักปลอกหมอนและผ้าปูที่นอน โดยใช้ส่วนผสมของน้ำมะนาวหรือน้ำส้มสายชู ผสมกับผงซักฟอก เพื่อซักทำความสะอาดได้
- ควรซักทำความสะอาดคราบฝังลึกในเบื้องต้นก่อนนำไปซักทำความสะอาดอีกครั้ง และไม่ควรแช่ปลอกหมอน และผ้าปูที่นอนนานจนเกินไป เนื่องด้วยเนื้อผ้าอาจจะถูกทำลายจากผงซักฟอก
- ควรแยกซักปลอกหมอนและผ้าปูที่นอน ออกจากการซักเสื้อผ้าทั่วไป เนื่องด้วยปลอกหมอนและผ้าปูที่นอนใช้วัสดุหรือผ้าต่างชนิดกัน ดังนั้น ควรเลือกใช้โปรแกรมการซักที่เหมาะสมกับเนื้อผ้า และช่วยป้องกัน
- ควรใส่ผงซักฟอกให้เหมาะสมกับปริมาณปลอกหมอนหรือผ้าปูที่นอนที่ซัก เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดคราบผงซักฟอกตกค้าง หรือเกิดอาการระคายเคืองผิวได้
- ควรเลือกใช้โปรแกรมการซักและแรงปั่นเบา ไม่จำเป็นต้องเลือกใช้แรงปั่นแรง เนื่องด้วยแรงปั่นอาจจะทำลายเนื้อผ้าได้
- ไม่ควรอบปลอกหมอนและผ้าปูที่นอนจนแห้งสนิท ควรนำปลอกหมอนและผ้าปูที่นอนไปตากแดดให้แห้งสนิทแทนการอบด้วยเครื่องอบผ้า เนื่องด้วยการอบด้วยเครื่องอบผ้าให้แห้งสนิท จะทำให้เนื้อผ้าหดตัวได้
- ควรซักทำความสะอาดปลอกหมอน และผ้าปูที่นอนเป็นประจำทุกสัปดาห์ สัปดาห์ละอย่างน้อย 1 ครั้ง เพื่อขจัดความสกปรกหรือคราบเหลือง
- ควรเลือกใช้อุณหภูมิในการซักทำความสะอาดปลอกหมอน และผ้าปูที่นอนตามคำแนะนำของป้ายด้านข้าง หรืออุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียสขึ้นไป เพื่อช่วยขจัดเชื้อโรค ไรฝุ่น เชื้อรา และคราบเหลือง หากซักร่วมกับน้ำส้มสายชูหรือสารฟอกขาวแล้ว ไม่จำเป็นต้องใช้อุณหภูมิสูงถึง 60 องศาเซลเซียส เนื่องด้วยน้ำส้มสายชูและสารฟอกขาว มีส่วนช่วยในการขจัดเชื้อโรค ไรฝุ่น เชื้อรา และคราบเหลือง
- สำหรับการขจัดเชื้อราบนปลอกหมอนและผ้าปูที่นอน นำหมอนแช่น้ำร้อน ผสมด้วยไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (Hydrogen Peroxide) และน้ำส้มสายชู ในอัตราส่วน 1 : ½ แช่ทิ้งไว้สักครู่ และเติมเบกกิ้งโซดาลงไปเล็กน้อย หลังจากนั้นให้กดเครื่องซักผ้า เพื่อซักตามปกติ และนำไปตากให้แห้งสนิท
เพียงเท่านี้ลูกค้าก็จะได้รู้หลักการทำงานของปั๊มน้ำ
แต่หากต้องการให้น้องปั๊มบ้านช่วยเหลือ เช่น ปั๊มน้ำดังไม่หยุด ปั๊มน้ำดังตลอด ปั๊มน้ำทำงานถี่ๆ ปั๊มน้ำดังเป็นระยะๆ หรืออาการต่างๆ
น้องปั๊มบ้านมีบริการซ่อม ติดตั้ง และจำหน่ายปั๊มน้ำ
– ช่างเข้าหน้างานภายใน 1-3 ชม.
– รับประกัน(งานซ่อม 7 วัน) (งานติดตั้ง 30 วัน)
– ทั่วกรุงเทพปริมณฑล และทั่วประเทศ(บางพื้นที่)
เพื่อให้ลูกค้าได้แก้ปัญหาได้อย่างตรงจุดทันท่วงทีและไม่ต้องเสียเวลาลองผิดลองถูกกันอีกด้วยครับ
แจ้งปัญหาหรือปรึกษาฟรีเกี่ยวกับปั๊มน้ำ
โทร 095-768-8937 หรือ Add line id : @pumpban
ในเวลาทำการ จ-เสาร์ 8.30-17.30น. ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์