Solenoid Valve คืออะไร?

Solenoid Valve (โซลินอยด์วาล์ว) หรือ วาล์วหรือสวิตช์ควบคุมทิศทาง เป็นอุปกรณ์ใช้ในการควบคุมการไหลของของเหลวชนิดต่าง ๆ เช่น น้ำ อากาศ หรือ ก๊าชต่าง ๆ เป็นต้น โดยภายในวาล์วชนิดนี้จะแตกต่างจากวาล์วทั่วไปตรงที่จะมีส่วนประกอบที่ถูกเพิ่มขึ้นมาชนิดหนึ่งคือ ขดลวดพันแม่เหล็ก โดยขดลวดนี้จะถูกใช้เป็นตัวกลางในการใช้งานร่วมกันกับพลังงานไฟฟ้า โดยการปล่อยกระแสไฟฟ้าผ่านขดลวด จนทำให้เกิดเป็นพลังงานสนามแม่เหล็ก ที่ส่งผลต่อการปิด – เปิด ช่องการไหลของตัววาล์ว 

โดยหลักการทำงานของ Solenoid Valve นั้นจะทำงานร่วมกันกับระบบไฟฟ้าในการเปิด – ปิดช่องผ่านของของเหลว โดยการปล่อยกระแสไฟฟ้าให้ไหลผ่านส่วนที่เป็นขดลวดพันรอบแท่งเหล็ก จนเกิดเป็นสนามแม่เหล็กไฟฟ้า และส่งแรงให้ทุ่น (Plunger) ยกตัวขึ้นไปเพื่อเปิดช่องให้ของเหลวไหลผ่านไป และหากต้องการปิดช่องผ่านของของเหลว ก็ทำได้เพียงแค่ตัดกระแสไฟฟ้า ตัวทุ่นก็จะปิดตำแหน่งช่องผ่านของไหลทันที

Solenoid Valve นั้นมีด้วยกันอยู่ 3 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่

  1. ระบบเปิดปิดโดยตรง (Direct Acting หรือ Direct Operated)

เป็นระบบที่จะมีลักษณะของการทำงานเป็นแบบ 2 ทาง โดยเป็นแบบปกติปิด (N/C) ที่มีระบบการทำงานแบบเปิด – ปิดโดยตรง ที่จะมีทางเข้าหนึ่งทาง และมีทางออกหนึ่งทาง ในด้านของทุ่นนั้นจะมีซีลอยู่ที่ปลายด้านล่าง ที่ทำหน้าที่ในการเปิด – ปิดรูทางผ่าน (Orifice) ของของเหลว เมื่อจ่ายไฟฟ้าเข้า หรือ ตัดไฟฟ้าออกจากคอยล์ ในส่วนของข้อควรระวังในการใช้วาล์วประเภทนี้ก็คือ เมื่อมีการเพิ่มความดันของของเหลวในระบบ จะทำให้ต้องใช้แรงดันมากขึ้นในการเปิดวาล์ว และถ้าหากความดันของของเหลวนั้นสูงเกินกว่าที่กำลังของคอยล์จะเปิดวาล์วได้ วาล์วก็จะไม่ทำงานได้ ถึงแม้ว่าจะมีการจ่ายไฟฟ้าแล้วก็ตาม

  1. ระบบเปิดปิดทางอ้อม (Indirect Acting หรือ Pilot Operated)

เป็นระบบที่จะมีลักษณะของการทำงานเป็นแบบ 2 ทาง แบบปกติปิด (N/C) ที่มีระบบการทำงานแบบเปิด – ปิดทางอ้อม ที่จะมีทางเข้าหนึ่งทาง และมีทางออกอีกหนึ่งทาง โดยรูผ่านหลัก (Main Orifice) ที่อยู่ภายในวาล์วจะทำหน้าที่ในการส่งความดันส่งของของเหลวไปยังพื้นผิวด้านบนและพื้นผิวด้านล่าง ที่อยู่บริเวณรอบ ๆ รูทางผ่าน จนทำให้แผ่นไดอะแฟรม เกิดการเสียความสมดุล (Diaphragm) เพื่อเปิดช่องให้ของไหลไหลผ่านไปได้ ในส่วนของข้อควรระวังในการใช้วาล์วประเภทนี้ก็คือ ความดันขาเข้าและขาออก จำเป็นต้องมีความแตกต่างกัน ในค่าหนึ่งตามที่กำหนดของผู้ผลิต (Minimum Differential Pressure) เพื่อทำให้วาล์วนั้นทำงานได้อย่างถูกต้อง

  1. ระบบลูกผสม (Combined Acting หรือ Combined Operated)

เป็นระบบที่จะมีลักษณะของการทำงานเป็นแบบ 2 ทาง แบบปกติปิด (N/C) ที่มีระบบการทำงานเป็นแบบลูกผสมคือ จะมีทางเข้าหนึ่งทาง และมีทางออกอีกหนึ่งทาง โดยการเปิดรูผ่านหลักที่เป็นระบบลูกผสมที่อยู่ภายในตัววาล์ว ในการทำให้ความดันของพื้นที่ด้านบนและด้านล่างของแผ่นไดอะแฟรมนั้นเกิดการเสียสมดุล ผสมกับกับแรงของทุ่นโซลินอยด์ ในการช่วยออกแรงยกแผ่นไดอะแฟรมขึ้นโดยตรง การทำงานของแผ่นไดอะแฟรมประเภทนี้จะคล้ายกับระบบเปิดปิดทางอ้อม แต่จะมีความต่างตรงที่ถึงแม้ว่าจะมีความดันขาเข้าจะมีเพียงนิดเดียว แต่ตัววาล์วก็ยังสามารถเปิดได้ด้วยแรงยกของทุ่น ในส่วนของข้อควรระวังในการใช้วาล์วประเภทนี้ นอกจากความสามารถของวาล์วประเภทนี้จะไม่จำเป็นที่จะต้องมีความต่างศักย์ของความดันระหว่างขาเข้าและขาออก ก็สามารถเปิด – ปิดได้แล้ว ข้อควรระวังอื่น ๆ ก็คล้ายกับระบบเปิดปิดทางอ้อมทั้งหมด

เนื่องจาก Solenoid Valve นั้นมีระบบการทำงานที่ค่อนข้างหลากหลาย ดังนั้น เราจึงควรเลือกวัสดุวาล์วให้เหมาะกับงาน เช่น หากเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการไหลของน้ำ ก็ควรเลือกใช้วัสดุที่ภายนอกเป็นพลาสติก หรือ หากงานที่เกี่ยวข้องกับการไหลของสารเคมี ก็ควรเลือกใช้วัสดุที่ภายนอกเป็นทองเหลือง

เพียงเท่านี้ลูกค้าก็จะได้รู้หลักการทำงานของปั๊มน้ำ
แต่หากต้องการให้น้องปั๊มบ้านช่วยเหลือ เช่น ปั๊มน้ำดังไม่หยุด ปั๊มน้ำดังตลอด ปั๊มน้ำทำงานถี่ๆ ปั๊มน้ำดังเป็นระยะๆ หรืออาการต่างๆ
น้องปั๊มบ้านมีบริการซ่อม ติดตั้ง และจำหน่ายปั๊มน้ำ
– ช่างเข้าหน้างานภายใน 1-3 ชม.
– รับประกัน(งานซ่อม 7 วัน) (งานติดตั้ง 30 วัน)
– ทั่วกรุงเทพปริมณฑล และทั่วประเทศ(บางพื้นที่)
เพื่อให้ลูกค้าได้แก้ปัญหาได้อย่างตรงจุดทันท่วงทีและไม่ต้องเสียเวลาลองผิดลองถูกกันอีกด้วยครับ
แจ้งปัญหาหรือปรึกษาฟรีเกี่ยวกับปั๊มน้ำ
โทร 095-768-8937 หรือ Add line id : @pumpban
ในเวลาทำการ จ-เสาร์ 8.30-17.30น. ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์