Capacitor ทำงานอย่างไร ?? 

Capacitor หรือ ตัวเก็บประจุนั่นเอง เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ชนิดหนึ่งที่หลายคนต้องรู้จัก เพราะใช้กันอย่างแพร่หลายในอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ โดยทำหน้าที่เก็บพลังงานในสนามไฟฟ้า ที่สร้างขึ้นระหว่างคู่ฉนวนโดยมีค่าประจุไฟฟ้าเท่ากัน แต่จะมีชนิดของประจุตรงกันข้ามกัน

ซึ่งส่วนประกอบหลักของ ตัวเก็บประจุ (Capacitor) คือแผ่นตัวนำไฟฟ้า จำนวน 2 แผ่น ซึ่งอยู่ใกล้กันโดยมีฉนวนไฟฟ้ากั้นระหว่างตรงกลาง หากกระแสไฟฟ้านั้นไหลเข้าสู่คาปาซิเตอร์ จะเกิดอิเล็กตรอน ในทางฝั่งหนึ่งของแผ่นตัวนำไฟฟ้า โดย ตัวเก็บประจุ (Capacitor) ในวงจรของกระแสสลับนั้น ในช่วงแรก อิเล็กตรอนจะรวมกันอยู่ที่ข้างหนึ่งของแผ่นนำไฟฟ้า จากนั้นจะสลับข้างไปยังอีกฝั่งหนึ่ง วนอยู่แบบนี้เรื่อยๆ ในทุกๆความถี่ของกระแสไฟฟ้าสลับ

โดยหลักการทำงานของ ตัวเก็บประจุ  (Capacitor) อธิบายได้ว่า เมื่อนำตัวเก็บประจุนั้น มาต่อเข้ากับแหล่งจ่ายไฟหรือต่อเข้ากับวงจร จะสามารถสังเกตได้ว่า กระแสของไฟฟ้านั้นไม่สามารถไหลผ่านเข้าสู่ตัวเก็บประจุได้ เนื่องจาก ตัวเก็บประจุ  (Capacitor) มีฉนวนกั้นอยู่ ซึ่งประจุไฟฟ้าที่ไม่สามารถไหลผ่านฉนวนได้หมายความว่า จะติดอยู่ที่แผ่นตัวนำ ซึ่งทำให้มีประจุไฟฟ้าลบ (Electron) จำนวนมากนั่นเอง การที่มีประจุติดอยู่ที่แผ่นตัวนำของ ตัวเก็บประจุ  (Capacitor) ได้นั้นเนื่องจาก แต่ละด้านจะมีประจุไฟฟ้าที่เป็นขั้วตรงกันข้ามกัน ทำให้เกิดสนามไฟฟ้า (Electric Field) ซึ่งดึงดูดกันและกัน จึงทำให้ ตัวเก็บประจุ (Capacitor) สามารถเก็บพลังงานศักย์ หรือ แรงดัน (Voltage) ไว้ได้

ในปัจจุบัน ตัวเก็บประจุ (Capacitor) นั้นถูกผลิตออกมามากมายหลายรูปแบบ ซึ่งสามารถแบ่งประเภทของเจ้าตัวเก็บประจุได้ตามลักษณะของโครงสร้าง หรือสามารถแบ่งได้โดยค่าของสารไดอิเล็กตริก ซึ่งเป็นตัวกำหนดค่าตัวเก็บประจุ  (Capacitor) ว่าเป็นตัวเก็บประจุประเภทใด สามารถทนแรงใดได้เท่าไหร่ หรือจะสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทง่ายๆ คือ 

  • ตัวเก็บประจุ แบบค่าคงที่
  • ตัวเก็บประจุแบบปรับค่าได้
  • ตัวเก็บประจุแบบเลือกค่าได้

ตัวเก็บประจุ แบบค่าคงที่ (Fixed Capacitor)

คือ ตัวเก็บประจุ ที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงค่าได้ ลักษณะที่พบเห็นได้ในทั่วไปจะเป็นลักษณะวงกลม และทรงกระบอก 

ตัวเก็บประจุ แบบปรับค่าได้ (Variable Capacitor)

คือ ตัวเก็บประจุ ที่จะเปลี่ยนแปลงค่าไปตามการเคลื่อนที่ของแกนหมุน โดยโครงสร้างภายในจะประกอบไปด้วย แผ่นโลหะไม่น้อยกว่า 2 แผ่น โดยตำแหน่งการวางคือ แผ่นหนึ่งจะอยู่กับที่ อีกแผ่นหนึ่งจะเคลื่อนที่ได้

ตัวเก็บประจุ แบบเลือกค่าได้  

คือ ตัวเก็บประจุ ในตัวถังเดียว แต่จะมีค่าที่สามารถเลือกใช้งานได้มากกว่าหนึ่งค่า หรืออธิบายได้ว่า ในตัวเก็บประจุ 1 ตัวนั้นมีค่าให้เลือกใช้จำนวนหลายค่า

เพียงเท่านี้ลูกค้าก็จะได้รู้หลักการทำงานของปั๊มน้ำ
แต่หากต้องการให้น้องปั๊มบ้านช่วยเหลือ เช่น ปั๊มน้ำดังไม่หยุด ปั๊มน้ำดังตลอด ปั๊มน้ำทำงานถี่ๆ ปั๊มน้ำดังเป็นระยะๆ หรืออาการต่างๆ
น้องปั๊มบ้านมีบริการซ่อม ติดตั้ง และจำหน่ายปั๊มน้ำ
– ช่างเข้าหน้างานภายใน 1-3 ชม.
– รับประกัน(งานซ่อม 7 วัน) (งานติดตั้ง 30 วัน)
– ทั่วกรุงเทพปริมณฑล และทั่วประเทศ(บางพื้นที่)
เพื่อให้ลูกค้าได้แก้ปัญหาได้อย่างตรงจุดทันท่วงทีและไม่ต้องเสียเวลาลองผิดลองถูกกันอีกด้วยครับ
แจ้งปัญหาหรือปรึกษาฟรีเกี่ยวกับปั๊มน้ำ
โทร 095-768-8937 หรือ Add line id : @pumpban
ในเวลาทำการ จ-เสาร์ 8.30-17.30น. ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์