เขื่อนที่หลายคนรู้จักคงเป็นแหล่งกักเก็บน้ำขนาดใหญ่ เป็นแหล่งกักเก็บพลังงานน้ำที่สำคัญใช้เพื่อการเกษตร บ้างเป็นสถานที่ท่องเที่ยวของแต่ละจังหวัด เช่น เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เขื่อนด่านปราการชล เขื่อนอุบลรัตน์ เป็นต้น  

เขื่อน จะทำหน้าที่กั้นทางน้ำซึ่งเป็นต้นน้ำ จึงทำให้สะสมกักเก็บไว้ในอ่างเก็บน้ำ ใช้ควบคุมการระบายน้ำในอ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อน ป้องกันอุทกภัยและเพื่อใช้ประโยชน์จากพลังงานน้ำเหนือเขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้า เมื่อเราใช้น้ำในการผลิตพลังงานแล้ว สามารถใช้ประโยชน์ได้อีกมากมาย และเป็นพลังงานทดแทนที่สามารถหมุนเวียนนำกลับมาใช้ใหม่ได้ 

ประเภทของเขื่อน แบ่งออกตามวัสดุก่อสร้าง ดังนี้

เขื่อนหินทิ้ง ใช้หินเป็นวัสดุถมโดยต้องมีดินฐานรากที่แข็งแรง จะใช้หินที่อยู่บริเวณสถานที่ก่อสร้าง และใช้ดินเหนียวคอนกรีตหรือ ยางแอสฟัลท์ในการทำผนังกันซึมที่ตรงกลางแกนเขื่อนหรือด้านหน้าหัวเขื่อน เช่น เขื่อนวชิราลงกรณ เขื่อนศรีนครินทร์ เขื่อนบางลาง เป็นต้น

เขื่อนดิน เป็นการก่อสร้างด้วยดิน จึงเป็นที่มาของชื่อลักษณะเขื่อน ด้วยวิธีถมดินบดอัดแน่นมีคุณสมบัติคล้ายกับเขื่อนหินทิ้ง เช่น เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ เขื่อนแก่งกระจาน เป็นต้น เขื่อนดินมี 2 ประเภท คือ ประเภทเนื้อเดียว ที่ก่อด้วยดินเหนียวเป็นดินทึบน้ำปิดทับด้านเหนือน้ำด้วยหินทิ้ง เพื่อป้องกันการกัดเซาะจากคลื่นท้ายน้ำ และอีกประเภท คือ ประเภทแบ่งโซน จะแบ่งโครงสร้างเขื่อนเป็นโซนโดยแกนกลางของเขื่อนเป็นชั้นดินเหนียวทึบน้ำ มีชั้นกรองเป็นกรวดหรือทราย ชั้นถัดมาจะเป็นดินประเภทกึ่งทึบ และปิดทับด้านเหนือน้ำด้วยหินทิ้ง

เขื่อนกลวง จะมีโครงสร้างรับแรงภายนอก เช่น แรงดันน้ำที่กระทำผนังกั้นน้ำที่เป็นแผ่นเรียบ หรือครีบ ซึ่งเป็นที่มาขออีกชื่อ คือ เขื่อนครีบ ที่จะทำหน้าที่รับผนังกั้นน้ำและถ่ายแรงไปฐานรากมีลักษณะเป็นรูปแผ่นคอนกรีต แต่มีความปลอดภัยน้อยกว่าเขื่อนแบบถ่วงน้ำหนัก

เขื่อนคอนกรีต สร้างด้วยคอนกรีต แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ แบบถ่วงน้ำหนัก ที่อาศัยการถ่ายน้ำหนักของตัวเขื่อนลงชั้นฐานรากรูปตัดของเขื่อนที่เป็นรูปสามเหลี่ยมแนวตรงตลอดความยาว เช่น เขื่อนกิ่วลม และเขื่อนแม่มาว ส่วนอีกประเภท คือ แบบโค้ง ซึ่งจะต้านแรงดันของน้ำและแรงอื่นๆ หากนำมาเปรียบเทียบกันเขื่อนแบบโค้งจะรูปร่างบางกว่าและราคาก่อสร้างถูกกว่าแบบถ่วงน้ำหนัก 

ตัวอย่างเขื่อนที่ออกแบบมีลักษณะผสมทั้ง 2 ประเภทดังกล่าว คือ เขื่อนภูมิพลนอกจากเขื่อนที่เป็นอ่างกักเก็บน้ำในเขื่อนแล้วยังมี ทางน้ำล้น ฝายและฝายยางที่เป็นส่วนสำคัญเช่นกันจึงนำความรู้เล็กๆน้อยๆมาฝากเพิ่มเติมดังต่อไปนี้ ทางน้ำล้น  ก่อสร้างด้วยคอนกรีตใช้ประโยชน์ในการระบายน้ำส่วนเกินออกมายังท้ายน้ำ เป็นการควบคุมระดับน้ำให้อยู่ในระดับปลอดภัยป้องกันไม่ให้น้ำล้นเขื่อน สามารถแบ่งประเภทได้ ดังนี้ ทางน้ำล้นแบบควบคุมได้ จะมีลักษณะมีประตูน้ำบานเลื่อนที่จะสามารถควบคุมอัตราการไหลของน้ำได้และทางน้ำล้นที่ควบคุมไม่ได้ คือมีลักษณะไม่มีประตูน้ำ เมื่อระดับน้ำสูงจะไหลผ่านสันฝาย ฝาย คือ เขื่อนทดน้ำซึ่งจะสร้างทางต้นน้ำของลำน้ำธรรมชาติขวางทางน้ำ จะทำหน้าที่ทดน้ำที่ไหลมาตามลำน้ำให้มีระดับสูงเพื่อให้น้ำไหลเข้าคลองส่งน้ำได้ ส่วนน้ำที่เหลือไหลล้นข้ามสันฝายไป ซึ่งฝายจะมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมคางหมู สุดท้ายชวนมารู้จักกับ ฝายยาง คือ เป็นฝายทดน้ำเช่นกันแต่สามารถปรับระดับน้ำเหนือฝายได้ ซึ่งจะมรการยุบและพองตัวของท่อยางขนาดใหญ่ ซึ่งจะช่วยในการควบคุมระดับน้ำ ควบคุมน้ำท่วม การปรับและเพิ่มปริมาณน้ำที่เก็บ

ปั๊มบ้านบอกต่อ! กับเกร็ดความรู้เรื่องปั๊มน้ำ และสารพัดวิธีแก้ปัญหาจุกจิกภายในบ้าน เรามีคำตอบให้คุณได้ทุกวัน
น้องปั๊มบ้านมีบริการซ่อม ติดตั้ง และจำหน่ายปั๊มน้ำ
– ช่างเข้าหน้างานภายใน 1-3 ชม.
– รับประกัน(งานซ่อม 15 วัน) (งานติดตั้ง 90 วัน)
– ทั่วกรุงเทพปริมณฑล และทั่วประเทศ(บางพื้นที่)
เพื่อให้ลูกค้าได้แก้ปัญหาได้อย่างตรงจุดทันท่วงทีและไม่ต้องเสียเวลาลองผิดลองถูกกันอีกด้วยครับ
แจ้งปัญหาหรือปรึกษาฟรีเกี่ยวกับปั๊มน้ำ
โทร 095-768-8937 หรือ Add line id : @pumpban
ในเวลาทำการ จ-เสาร์ 8.30-17.30น. ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์หยุดนักขัตฤกษ์