ต่อท่อประปาในบ้าน อย่างไรให้ได้มาตรฐาน !?

การเดินท่อประปา

วิธีการเดินท่อประปาภายในบ้านที่นิยมกันในปัจจุบันจะมีอยู่ด้วยกัน 2 แบบ

  1. การเดินท่อแบบลอย

การเดินท่อติดกับผนัง หรือวางบนพื้น ไม่ได้ทำการฝังเข้าไปในกำแพงหรือเพดาน ซึ่งวิธีการเดินท่อในรูปแบบนี้จะสามารถเห็นได้ชัดเจน สามารถซ่อมแซมได้ง่าย สามารถแก้หรือเพิ่มระบบภายหลังได้ง่าย แต่จะส่งผลให้ไม่มีความสวยงาม อาจทำให้ดูรกตาได้

  1. การเดินท่อแบบฝัง 

เป็นการวางระบบท่อ จากนั้นก็ฉาบปูนทับ

หรืออีกวิธีคือ เดินแบบซ่อนไว้ที่ใต้เพดาน และนำฝ้ามาปิดทับ ซึ่งให้ความสวยงามกว่าการเดินท่อแบบลอย เพราะจะดูเรียบร้อยและ สวยงามแต่การซ่อมแซมนั้นจะทำได้ยาก

การเดินท่อประปาจะมีทั้งท่อในส่วนที่อยู่บนดินและในส่วนที่อยู่ใต้ดิน ท่อที่อยู่บนดินนั้นจะใช้ท่อ PVC หรือท่อเหล็กชุบสังกะสี แต่ท่อในส่วนที่ฝังลงไปในใต้ดิน จะเป็นระบบท่อที่วางในใต้ดิน ซึ่งควรเป็นท่อ PE หรือ ท่อ HDPE เป็นท่อที่มีความยืดหยุ่นมากกว่าท่อ PVC ซึ่งเหมาะกับการใช้งานสำหรับใต้ดิน หรือเป็นท่อที่อยู่นอกอาคาร 

ด้วยคุณสมบัติพิเศษ มีการยืดหยุ่น หากเกิดการทรุดตัวของอาคารหรือบ้าน จะไม่เกิดปัญหาของการแตกร้าวของท่อ อีกทั้งยัง สามารถดัดโค้งได้อีกด้วย จึงหมดปัญหาการรั่วซึมจากข้อต่อต่างๆ เพราะปัญหาที่พบได้บ่อยมากนั้นคือ การใช้ท่อปกติหรือท่อ PVC และเกิดการรั่วซึมนั่นเอง หรือในกรณีหากเกิดการทรุดตัวของอาคารหากเป็นท่อ PVC หรือ ท่อเหล็กชุบสังกะสี อาจเกิดการแตกร้าวได้ หากใช้ท่อ PE หรือ ท่อ HDPE นั้นจะมีความยืดหยุ่นซึ่งมีความคงทนได้มากกว่า ซึ่งถือว่าคุ้มค่าและราคาแก่การป้องการแตกร้าวได้อย่างดี เพราะหากเกิดการรั่วซึมแล้วนั้นคงไม่คุ้มกับราคาการซ่อมแซมเลย

เมื่อติดตั้งสุขภัณฑ์ การใช้สต๊อปวาล์วนั้นถือเป็นส่วนสำคัญเช่นเดียวกันในการวางระบบท่อ เพราะสามารถช่วยให้ระบบการทำงาน สามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพและดูแลรักษาและซ่อมแซมได้ง่ายเมื่อเกิดปัญหา

ตัวสต๊อปวาล์วนั้นจะทำให้สั่งการปิดและเปิด ในส่วนที่กำลังซ่อมแซมอยู่ได้ เพื่อให้ส่วนอื่นๆ ที่ต้องการจะใช้น้ำยังสามารถใช้งานอยู่ได้

หลักการวางท่อ

ก่อนอื่นต้องสำรวจเส้นทางเดินของท่อให้ละเอียดเรียบร้อย และควรวางตรง เพื่อน้ำเดินทางได้สะดวก ควรเลือกใช้ท่อให้เหมาะสมกับการใช้งาน หลีกเลี่ยงการใช้ข้องอและสามทาง เนื่องจากทำให้เกิดการตัน และแรงดันน้ำไหลเบา และพยายามใช้ท่อให้สั้นที่สุด หากท่อซีเมนต์ประปาสาธารณะอยู่ใกล้ตัวบ้าน

ควรใช้ท่อให้ขนาดเล็กลง โดยมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของท่อ 1 นิ้ว

จากท่อประปามาเป็นท่อประปาซีเมนต์ในบ้าน

และลดขนาดของการใช้งานภายในบ้าน ลดลงอีกประมาณ 3/4 นิ้ว เพื่อเป็นการเพิ่มแรงกันน้ำประปาไปยังปลายทาง ในการใช้งานน้ำมากขึ้น

  • การกำหนดความความย่อของท่อทำได้โดย 
    • กำหนดขนาดจากปลายท่อถึงปลายท่อ โดยไม่รวมวัดข้อต่อ
    • กำหนดขนาดจากปลายท่อถึงเส้นผ่าศูนย์กลางข้อต่อ
    • กำหนดขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางข้อต่อถึงเส้นผ่าศูนย์กลางข้อต่ออีกด้านหนึ่ง

ระบบสุขาภิบาลประกอบไปด้วย

  • ท่อต่างๆ
  • ถังพักน้ำ
  • วาล์ว
  • ปั๊มน้ำ
  • ถังดักไขมัน
  • ถังบำบัดน้ำ
  • บ่อพักน้ำ

ซึ่งแต่ละส่วนมีการเชื่อมต่อกันและทำหน้าที่รวมกันอย่างเป็นระบบ

เพื่อให้ระบบสุขาภิบาลภายในดำเนินการได้อย่างราบรื่น หากไม่อยากให้เกิดปัญหา น้ำรั่ว น้ำไม่ไหล ปัญหาของการแย่งน้ำกันใช้ หรือแรงดันไม่มากพอ ต้องวางระบบประปาให้ดี เช่นการเลือกใช้ปั๊มน้ำเพื่อเพิ่มแรงดัน เพื่อสำรองน้ำไว้ใช้ในกรณีที่การประปาหยุดจ่ายน้ำเป็นต้น

เพียงเท่านี้ลูกค้าก็จะได้รู้หลักการทำงานของปั๊มน้ำ
แต่หากต้องการให้น้องปั๊มบ้านช่วยเหลือ เช่น ปั๊มน้ำดังไม่หยุด ปั๊มน้ำดังตลอด ปั๊มน้ำทำงานถี่ๆ ปั๊มน้ำดังเป็นระยะๆ หรืออาการต่างๆ
น้องปั๊มบ้านมีบริการซ่อม ติดตั้ง และจำหน่ายปั๊มน้ำ
– ช่างเข้าหน้างานภายใน 1-3 ชม.
– รับประกัน(งานซ่อม 7 วัน) (งานติดตั้ง 30 วัน)
– ทั่วกรุงเทพปริมณฑล และทั่วประเทศ(บางพื้นที่)
เพื่อให้ลูกค้าได้แก้ปัญหาได้อย่างตรงจุดทันท่วงทีและไม่ต้องเสียเวลาลองผิดลองถูกกันอีกด้วยครับ
แจ้งปัญหาหรือปรึกษาฟรีเกี่ยวกับปั๊มน้ำ
โทร 095-768-8937 หรือ Add line id : @pumpban
ในเวลาทำการ จ-เสาร์ 8.30-17.30น. ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์